วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ


5. เทคโนโลยีสารสนเทศ

http://nantana-nan1231.blogspot.com/2012/02/1.html กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การ Print การ Copy ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีหลายชุด โดยใช้อุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นCD ฮาร์ดดิส เป็นต้น

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/ , http://www.gotoknow.org/blogs/posts/30371  กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การจัดการในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์

ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การใช้อินเตอร์เน็ตโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ(wap)
  • ปาล์มคอมพิวเตอร์( Palm computer)
  • การประชุมทางไกล( Tele Conference) เป็นต้น

http://www.thaigoodview.com/node/55440 กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ

สรุป  

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ 

เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ

 
เอกสารอ้างอิง
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/ .เข้าถึงเมื่อ 10/08/2555
 http://www.thaigoodview.com/node/55440. เข้าถึงเมื่อ 10/08/2555  
http://nantana-nan1231.blogspot.com/2012/02/1.html .เข้าถึงเมื่อ10/08/2555  

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/30371 .เข้าถึงเมื่อ 10/08/2555




เทคโนโลยี


4. เทคโนโลยี

               กัลเบรท (Galbraith.1967:12) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างมีระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ

             ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539:76) กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาติ

                1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

                2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์

                3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ

                4. กรรมวิธี และมีทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ

http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน

สรุป เทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างมีระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบ และการสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาติ

                1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

                2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์

                3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ

                4. กรรมวิธี และมีทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ

เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง.(2543).เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ 10200.สาโรช โสภีรักษ์.(2546).นวัตกรรมการสอน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.บุ๊คพอยท์.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm. เข้าถึงเมื่อ 10/08/2555  

นวัตกรรมทางการศึกษา


3. นวัตกรรมทางการศึกษา

กิดานันท์ มลิทอง (2543:256) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียน นวัตกรรมเหล่านั้น ประหยัดเวลาในการเรียน

ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายที่ใช้กัน เช่น สื่อหลายมิติ ความจริงเสมือน อินเทอร์เน็ต และการสอนบนเว็บ เป็นต้น

http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น

สาโรช โศภีรักษ์ (2546:27) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การทำกิจกรรมใดๆก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือมุ่งจะให้งานมีประสิทธิภาพสูงก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเข้ามาใช้ เรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation )

สรุป

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต
เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง.(2543).เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ 10200.
สาโรช โสภีรักษ์.(2546).นวัตกรรมการสอน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.บุ๊คพอยท์.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.
thttp://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm/.เข้าถึงเมื่อ 10/08/2555
 

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรม


2. นวัตกรรม


กิดานันท์ มลิทอง (2543:255) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมคือ แนวคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลยิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยั้งช่วยประหยัดเวลาและแรงงานไปด้วย

http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงาน

ไชยยศ เรืองสุวรรณ.(2521:14) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

สรุป

 นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นและพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้ เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงาน

 
เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง.(2543).เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ 10200.
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm. ค้นค้วาเมื่อ 05/08/2555



ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)


1.              ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) 

http://surinx.blogspot.com, http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  กล่าวไว้ว่า  แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ   3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486,http://surinx.blogspot.com/ กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ 


http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้ลงมือศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ สัมผัส สืบค้น จนได้รับคำตอบด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
 

สรุป
 การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้ลงมือศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ สัมผัส สืบค้น จนได้รับคำตอบด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง



 
เอกสารอ้างอิง
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
http://surinx.blogspot.com/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
พ.ศ. 2555
http://surinx.blogspot.com. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
             http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม         พ.ศ. 2555