วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัตถุประสงค์การวิจัย


โครงร่างการวิจัย

วัตถุประสงค์การวิจัย

            พิสณุ  ฟองศรี.(2553).กล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์การวิจัย  จะเป็นสิ่งที่กำหนดขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ในการทำวิจัย  เพื่อให้ผลวิจัยสนองตอบวัตถุประสงค์การวิจัย  หากเขียนวัตถุประสงค์ไม่สมบูรณ์  ขาดหรอเกินไปไม่ชัดเจน ก็จะส่งผลต่อการทำวิจัยในขั้นอื่น ๆ เปรียบเสมือนกับหลงทิศผิดทาง  การกำหนดวัตถุประสงค์โดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการวิจัยนั้น ๆ
1. เขียนเป็นข้อ ๆ ถึงผลที่จะทราบ (Output) จากการวิจัย
2. ห้ามเขียนไปถึงผลลัพธ์ (Outcome)  หรือผลกระทบ  (Impact)   จะนำไปเขียนได้ในหัวข้อ ความสำคัญของการวิจัยนั้น
3. ไม่จำเป็นต้องมีหลายข้อ

http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62  
กล่าวไว้ว่า การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยในชั้นเรียน
      1.ข้อความที่เขียนยังไม่ค่อยจะสอดคล้องและครบคลุมกับสิ่งที่จะศึกษาหรือตัวแปรตาม
      2.เขียนข้อความที่มีความครอบคลุมสอดคล้องกับสิ่งที่จะศึกษาหรือตัวแปรตามแต่ยังไม่กระชับชัดเจนเท่าที่ควร แต่รู้ว่างานวิจัยจะทำอะไรได้
      3.เขียนข้อความได้กะทัดรัดชัดเจน ตรงประเด็นสอดคล้องกับสิ่งที่จะศึกษาหรือตัวแปรตามอย่างสมเหตุสมผล รู้ได้ว่างานวิจัยจะทำอะไรได้

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   กล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
            3.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
           3.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                      3.2.1 เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                      3.2.2 เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน


สรุป

วัตถุประสงค์การวิจัย (Objective) กล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ และจะเป็นสิ่งที่กำหนดขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ในการทำวิจัย  เพื่อให้ผลวิจัยสนองตอบวัตถุประสงค์การวิจัย  


แหล่งที่มา
พิสณุ  ฟองศรี.(2553). การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา


โครงร่างการวิจัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
            พิสณุ  ฟองศรี.(2553). กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุ  ความจำเป็น  และความสำคัญที่จะทำวิจัย  ผู้วิจัยต้องเขียนเกริ่นนำหรืออารัมภบท  โดยโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านหรือผู้เกี่ยวข้องคล้อยตาม  เห็นด้วยและยอมรับ  เช่น  หากเป็นเรื่องใหม่ก็ถือว่าเป็นการบุกเบิก  แต่หากศึกษาต่อจากผู้อื่นก็แสดงให้เห็นว่าจะพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้เพิ่มเติมหรือลุ่มลึกกว่าอย่างไร  เป็นต้น  เนื่องจากหัวข้อนี้เป็นส่วนแรกของรายงานวิจัย  หากสามารถเขียนให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่าน  ก็จะส่งผลต่อเนื้อหาในหัวข้อหรือบทต่อไป ๆ ได้อีกด้วย  จึงเขียนด้วยความตั้งใจเท่าที่จะทำได้
หลักการ
Ø ความยาวประมาณ   3 – 6 หน้า  ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวแปรหรือเนื้อหา  วิธีการหรือองค์ประกอบอื่น ๆ
Ø หากความยาวน้อยกว่า  3  หน้า  มักจะได้สาระไม่ครบ
Ø หากความยาวเกิน  6  หน้า  มักจะวกวน
Ø ใช้ความคิดตัวเองเป็นส่วนนำ  และอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี  หรือานวิจัยมาสนับสนุน
Ø เขียนจากความเรียงจากใหญ่ไปย่อย  หรือทั่วไปสู่เฉพาะในลักษณะ “กรวย”
Ø ไม่ควรเกริ่นนำเนื้อหาที่เป็นเรื่องไกลตัวเกินไป  หากมีความจำเป็นต้องเกริ่นนำก็ไม่ควรให้มีปริมาณมากเกินไป
Ø ปริมาณเนื้อหาทั่วไปและเฉพาะเรื่องหรือปัญหาที่จะทำ   ความสมดุลหรือใกล้เคียงกัน
Ø เขียนย่อหน้าให้ได้หน้าละ  3-5 ย่อหน้า ๆ ละ 1 ประเด็น
Ø ย่อหน้าสุดท้ายเป็นการสรุปว่าจะทำวิจัย  ควรแสดงเหตุผลให้ครอบคลุม  เพื่อให้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำวิจัย
http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62   กล่าวไว้ว่า การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                        
            1.เขียนขยายความที่สื่อความได้พอสมควรแต่ไม่มีข้อมูลสารสนเทศประกอบการพิจารณาที่ชัดเจน
          2.เขียนได้ละเอียดมีความเป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลสารสนเทศประกอบ ชัดเจนแต่ยังไม่มีจุดเน้นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจน
          3.เขียนได้ละเอียดชัดเจนตรงประเด็นโดยเขียนจากกว้างมาสู่ภาพเล็กเปรียบเสมือนรูปสามเหลี่ยมกลับหัวลง   โดยมีข้อมูลสารสนเทศประกอบ มีการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุเชิงเหตุผลชัดเจนในการทำวิจัย มีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีรองรับและมีจุดเน้นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจน
            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale) อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
สรุป
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale) กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุ  ความจำเป็น  และความสำคัญที่จะทำวิจัย  ผู้วิจัยต้องเขียนเกริ่นนำหรืออารัมภบท  โดยโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านหรือผู้เกี่ยวข้องคล้อยตาม  เห็นด้วยและยอมรับ  เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ


แหล่งที่มา
พิสณุ  ฟองศรี.(2553). การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555

การเขียนชื่อเรื่อง

โครงร่างการวิจัย

การเขียนชื่อเรื่อง
พิสณุ  ฟองศรี
.(2553) . กล่าวไว้ว่า โดยทั่วไปเมื่อกำหนดเนื้อหาหรือตัวแปรที่จะวิจัยในเบื้องต้นแล้วผู้วิจัยมักจะตั้งชื่อเรื่องไว้ก่อนจะเขียนส่วนอื่น ๆ ดังนั้นในที่นี้จึงนำการตั้งชื่อเรื่องมาเสนอไว้ก่อน  ซึ่งจะปรากฏอยู่บนส่วนแรกของปกรายงานวิจัยทุกเล่ม  เมื่อผู้อ่านจะค้นคว้าก็พิจารณาชื่อเรื่องเป็นจุดเริ่มต้น  ดังนั้นความสนใจ  ความประทับใจ  จึงเริ่มเกิดตั้งแต่ได้อ่านชื่อเรื่อง  เปรียบเสมือนกับการพบกันครั้งแรก  หากชื่อเรื่องกระชับ  สละสลวย  และสื่อความหมายไปถึงเนื้อหาภานในเล่มก็จะเป็นผลดี  โดยต้องตั้งชื่อเรื่องให้ถูกต้องอย่างมีหลักการดังนี้
หลักการ
Ø สอดคล้องกับเนื้อหา / ตัวแปร
Ø กระชับแต่สมบูรณ์
Ø หากตัวแปรมีมากหลายตัวมักจะเรียกรวมกันว่า    ปัจจัย 
Ø หากขึ้นต้นด้วยคำกริยา  ควรใส่  การ เพิ่มข้างหน้า
Ø หากไม่จำเป็นก็ควรตัดคำฟุ่มเฟือยหน้าคำว่า การ   ออก  เช่น  คำว่า  ผลของ  หรือคำขยายอื่น ๆ เช่น การศึกษา  เป็นต้น                        
http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62  กล่าวไว้ว่า การเขียนชื่อเรื่องเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน คือ
1. เขียนชื่อเรื่องที่สามารถสื่อความกว้าง ๆ ไม่แสดงให้เห็นว่ามีตัวแปรต้น (นวัตกรรม) และตัวแปรตาม (ผลที่ต้องการจากการใช้นวัตกรรม)
2. เขียนชื่อเรื่องที่มีการสื่อความชัดเจนพอสมควรมีตัวแปรต้นหรือตัวแปรตามอย่างใดอย่างหนึ่ง ปรากฏอยู่มีความเฉพาะเจาะจงในสิ่งที่จะศึกษา
3. เขียนชื่อเรื่องได้กะทัดรัดชัดเจนมีทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามปรากฏอยู่ด้วยอย่างชัดเจน
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวไว้ว่า  การเขียนชื่อเรื่อง (the title)  ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร
นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
          1.1 ความสนใจของผู้วิจัย
ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
          1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
          1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
          1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ
ระเบียบวิธีของการวิจัย
สรุป

ชื่อเรื่อง (The Title) คือ เขียนชื่อเรื่องได้กะทัดรัดชัดเจนมีทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามปรากฏอยู่ด้วยอย่างชัดเจน  ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย  ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
            1.1 ความสนใจของผู้วิจัย
1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว


แหล่งที่มา
พิสณุ  ฟองศรี.(2553). การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์.
http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62  เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555