วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)


ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17 กล่าวไว้ว่า  การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
        1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่  ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
         2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่  ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
         3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
         4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
        5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม
         6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
         7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
         8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ

http://www.learners.in.th/blogs/posts/256509 กล่าวไว้ว่า  ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)ไว้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT)] และระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างกันระหว่างบุคคลและสังคม เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าความรับผิดชอบต่อสังคม แต่อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้องค์การการบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลขอผู้อื่นหรือของคู่แข่งขัน การตกงาน การประกอบอาชญากรรมข้อมูล ตลอดจนการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นต้น


องอาจ นัยพัฒน์ .(2548). กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย   ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
            1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
            2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
            3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

สรุป
            ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations) คือ ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT)] และระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างกันระหว่างบุคคลและสังคม และการวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ 
การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
        1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่  
         2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่  
         3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
         4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
        5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม
         6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ
         7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น
         8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร

แหล่งอ้างอิง

องอาจ นัยพัฒน์.(2548).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเพมหานคร :ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17   เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556
http://www.learners.in.th/blogs/posts/256509  เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556




การรวบรวมข้อมูล (Data collection)


การรวบรวมข้อมูล (Data collection)
             http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17 กล่าวไว้ว่า การรวบรวมข้อมูล โดยให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร? จากแหล่งไหน? (source of data) เก็บอย่างไร? ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน? อย่างไร? และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


http://www.thaigoodview.com/node/91926 กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection) การเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ มักจะสนใจเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นตัวเลขหรือคะแนน โดยได้ข้อมูลจากการบันทึก การนับ  การวัดหรือประมาณค่าของสิ่งที่จะศึกษาด้วยการใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์  แบบทดสอบ แบบลงทะเบียน แบบการทดลอง เป็นต้น ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงโดยทำเป็นตัวเลขข้อมูลภายใต้ขอบข่ายของโครงการที่กำหนด ไว้นั่นเอง

http://www.bestwitted.com/?p=171 กล่าวไว้ว่า วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1.สำมะโน (Census) เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ  นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ
2.การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey) เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจงนับบางหน่วยของประชากร โดยแต่ละหน่วยของประชากรที่ถูกแจงนับจะเป็นไปโดยสุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ
3.การทดลอง ( Experiment )
                 -วัตถุประสงค์ของการวางแผนการทดลองคือ เพื่อให้ทำสามารถวัดหรือเปรียบเทียบผลของสิ่งทดลอง (treatment) โดยการใช้หน่วยทดลอง (experimental unit)
                -สิ่งทดลอง หมายถึง วิธีการ หรือ กระบวนการหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการวัดหรือเปรียบเทียบ โดยจะนำสิ่งทดลองมาใส่ให้แก่หน่วยทดลอง เพื่อทำให้สามารถวัดค่าต่างๆ หรือวัดอิทธิพลของสิ่งทดลองโดยผ่านหน่วยทดลอง เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพของยารักษาโรคหัวใจ 4 ชนิด ในที่นี้ยาคือ สิ่งทดลอง จึงมีสิ่งทดลอง 4 ชนิด
              -หน่วยทดลอง หมายถึง คน สิ่งของ หรือสัตว์ที่นำมาใช้ในการทดลองเพื่อวัดผลของสิ่งทดลอง เช่น การเปรียบเทียบยารักษาโรคหัวใจ หน่วยทดลอง คือ คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ, การเปรียบเทียบคุณภาพวิธีการสอน 3 แบบ จะมีนักเรียนเป็นหน่วยทดลอง, การเปรียบเทียบคุณภาพของยา 4 ชนิด รักษาโรคใดโรคหนึ่ง มีคนไข้เป็นหน่วยทดลอง
4.เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว
การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
สรุป
            การรวบรวมข้อมูล (Data collection) ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่ คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวาง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม เป็นต้น หน่วยงานของรัฐบาลจึงเป็นผู้เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว  และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1.สำมะโน (Census)
2.การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey)
3.การทดลอง ( Experiment )
                   -วัตถุประสงค์ของการวางแผนการทดลองคือ เพื่อให้ทำสามารถวัดหรือเปรียบเทียบผลของสิ่งทดลอง (treatment) โดยการใช้หน่วยทดลอง (experimental unit)
                  -สิ่งทดลอง หมายถึง วิธีการ หรือ กระบวนการหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการวัดหรือเปรียบเทียบ
                 -หน่วยทดลอง หมายถึง คน สิ่งของ หรือสัตว์ที่นำมาใช้ในการทดลองเพื่อวัดผลของสิ่งทดลอง
4.เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

แหล่งอ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17   เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556 http://www.thaigoodview.com/node/91926   เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556
http://www.bestwitted.com/?p=171  เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556



การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)


การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17 กล่าวไว้ว่า การเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitaive data) หรือข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) (ดูที่ภาพ 11)
2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน (ดูที่ภาพ 11)
3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data) ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ (non-complier) ผู้ป่วยออกจากการศึกษากลางคัน หรือผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับโรคที่กำลังทำวิจัย กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง เตรียมการแก้ไข ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะตัดทิ้งไป หรือนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง


http://www.gotoknow.org/posts/492737 กล่าวไว้ว่า  การวิเคราะห์ข้อมูล  ( Data  Analysis )  มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้   และการตีความข้อมูล  ( Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย  ( The  research  process ) เพื่อเรียนรู้อะไร  เพื่ออธิบาย  ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร  และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย

            บุญเรียง ขจรศิลป์.(2539). ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ซึ่งการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมนั้น ผู้วิจัยควรทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลชนิดอะไร สถิติที่เลือกมาใช้นั้นมีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้าง และค่าสถิติต่างๆ นั้นจะใช้ในสถานการณ์อะไรบ้าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีใช้ในการวิจัย นั้นขึ้นอยู่กับว่าการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น รวบรวมมาจากสมาชิกทุกหน่วยในกลุ่มประชากรหรือรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร ถ้ารวบรวมจากกลุ่มประชากรสถิติที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็น พรรณนาสถิติ แต่ถ้าการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเป้าหมายในการวิจัยนั้น ต้องการที่จะสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออนุมานสถิติ



สรุป
            การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คือ ข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวม โดยทั่วไปจะมีจำนวนมาก เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะมีการดำเนินกับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแยกประเภท การจัดชั้น การสังเขป การหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของข้อมูล การพิจารณาหาว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นหรือไม่อย่างไรv การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) 
2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้
3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data)
5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง



แหล่งอ้างอิง                                                                                  http://www.gotoknow.org/posts/492737   เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17  เข้าถึงเมื่อ  09/01/2556

บุญเรียง ขจรศิลป์.(2539).วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์


อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)
           http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17 กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

สุวิมล ว่องวาณิช.(2544). กล่าวไว้ว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
แนวทางการแก้ไข อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว


ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2544). กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
 แนวทางการแก้ไข
                นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้


สรุป
            อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems) อาจเกิดปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน  การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม
อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก    16,351 - 19,115 คน  สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย


แหล่งอ้างอิง
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
         ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.

ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-17   เข้าถึงเมื่อ 09/01/2556




กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)


กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
            http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-11 กล่าวไว้ว่า การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว

http://www.gotoknow.org/posts/458772  กล่าวไว้ว่า การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ
         1. กำหนดตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
        2. กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
         3. เขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา           

กรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นผลสรุปจากการศึกษาทฤษฏีและผลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาการวิจัย ซึ่งผู้เสนอเค้าโครงสรุปเป็นแนวคิดของตนเองสำหรับการดำเนินการวิจัย ของตน โดยทั่วไปก่อนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษา ทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้มากพอว่ามีใครเคยทำวิจัยเรื่องทำนองนี้มาบ้างเขาทำอย่างไรและข้อค้นพบของการวิจัยมีอะไรบ้างแล้วนำมาประกอบการวางแผนการวิจัยของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบในเชิงเนื้อหาสาระซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสำหรับการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) กรอบแนวคิดในการวิจัยอาจมีแต่การระบุเฉพาะตัวแปรว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนำมาศึกษา กรอบแนวคิดดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนขอบเขตทางด้านเนื้อหาสารของการวิจัย ส่วนการวิจัยประเภทอธิบาย (Fxplanatory research) กรอบแนวคิดของการวิจัยมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย


สุวิมล ว่องวาณิช.(2551). กล่าวว่า การนำเสนอกรอบความคิดการวิจัย ควรนำเสนอในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย เพราะต้องเสนอกรอบความคิดซึ่งเป็นผลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่ที่พบโดยทั่วไป มักจะพบว่ามีการนำเสนอกรอบความคิดของการวิจัยในบทที่ 1  ซึ่งไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอในบทที่ 1 อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้อ่านหรือแม้แต่นักวิจัยเองเข้าใจภาพรวมของผลการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น กรอบความคิดการวิจัยที่นำเสนออาจจะทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องของแนวเหตุผลในการกำหนดตัวแปรมาศึกษา เพราะความรู้ที่รองรับยังนำเสนอไม่เพียงพอ

สรุป
            กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) คือ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง  และผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
            กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย
หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ
         1. กำหนดตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
        2. กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
         3. เขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา


แหล่งอ้างอิง
http://www.gotoknow.org/posts/458772     เข้าถึงเมื่อ  10/01/2556
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-11เข้าถึงเมื่อ  09/01/2556

สุวิมล  ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ.
              (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.