วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย


9. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย

                กิดานันท์ มลิทอง (2543:9) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้สื่อการสอนในลักษณะประสมเพื่อสืบค้น ข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง จึงทำให้ปัจจุบันมีการให้สื่อหลายมิติในรูปแบบต่างๆได้แก่
                1.การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAL)
                2.แผ่นวีดีทัศน์ชิงโต้ตอบ
                3.การสอนบนเว็บ (Web – based Instruction)
                4.ความเป็นจริงเสมือน
                5.ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2  กล่าวไว้ว่า รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ใน                        การเรียนการสอน ได้แก่
            
1. ภาพนิ่ง
            2. ภาพเคลื่อนไหว
            3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
            4. เสียง
            5. ส่วนต่อประสาน
            6. การเชื่อมโยงหลายมิติ
วัฒนา นัทธี .2547. http://www.edtechno.com/ กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไป   แบ่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)
สรุป
รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่  
    1.การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAL)  
    2.แผ่นวีดีทัศน์ชิงโต้ตอบ 
    3.การสอนบนเว็บ (Web – based Instruction)  
    4. ภาพนิ่ง 
    5. ภาพเคลื่อนไหว
    6. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
    7. เสียง 
    8. ส่วนต่อประสาน
     9. การเชื่อมโยงหลายมิติ 
    10. ความเป็นจริงเสมือน  
    11. ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
            ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ
        (1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน

         (2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
          (3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน           (Web-Based Intruction)

เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง.(2543).เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ 10200.
http://www.edtechno.com/ เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน  พ.ศ. 2555
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2 เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน  พ.ศ.   2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น