วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนชื่อเรื่อง

โครงร่างการวิจัย

การเขียนชื่อเรื่อง
พิสณุ  ฟองศรี
.(2553) . กล่าวไว้ว่า โดยทั่วไปเมื่อกำหนดเนื้อหาหรือตัวแปรที่จะวิจัยในเบื้องต้นแล้วผู้วิจัยมักจะตั้งชื่อเรื่องไว้ก่อนจะเขียนส่วนอื่น ๆ ดังนั้นในที่นี้จึงนำการตั้งชื่อเรื่องมาเสนอไว้ก่อน  ซึ่งจะปรากฏอยู่บนส่วนแรกของปกรายงานวิจัยทุกเล่ม  เมื่อผู้อ่านจะค้นคว้าก็พิจารณาชื่อเรื่องเป็นจุดเริ่มต้น  ดังนั้นความสนใจ  ความประทับใจ  จึงเริ่มเกิดตั้งแต่ได้อ่านชื่อเรื่อง  เปรียบเสมือนกับการพบกันครั้งแรก  หากชื่อเรื่องกระชับ  สละสลวย  และสื่อความหมายไปถึงเนื้อหาภานในเล่มก็จะเป็นผลดี  โดยต้องตั้งชื่อเรื่องให้ถูกต้องอย่างมีหลักการดังนี้
หลักการ
Ø สอดคล้องกับเนื้อหา / ตัวแปร
Ø กระชับแต่สมบูรณ์
Ø หากตัวแปรมีมากหลายตัวมักจะเรียกรวมกันว่า    ปัจจัย 
Ø หากขึ้นต้นด้วยคำกริยา  ควรใส่  การ เพิ่มข้างหน้า
Ø หากไม่จำเป็นก็ควรตัดคำฟุ่มเฟือยหน้าคำว่า การ   ออก  เช่น  คำว่า  ผลของ  หรือคำขยายอื่น ๆ เช่น การศึกษา  เป็นต้น                        
http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62  กล่าวไว้ว่า การเขียนชื่อเรื่องเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน คือ
1. เขียนชื่อเรื่องที่สามารถสื่อความกว้าง ๆ ไม่แสดงให้เห็นว่ามีตัวแปรต้น (นวัตกรรม) และตัวแปรตาม (ผลที่ต้องการจากการใช้นวัตกรรม)
2. เขียนชื่อเรื่องที่มีการสื่อความชัดเจนพอสมควรมีตัวแปรต้นหรือตัวแปรตามอย่างใดอย่างหนึ่ง ปรากฏอยู่มีความเฉพาะเจาะจงในสิ่งที่จะศึกษา
3. เขียนชื่อเรื่องได้กะทัดรัดชัดเจนมีทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามปรากฏอยู่ด้วยอย่างชัดเจน
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวไว้ว่า  การเขียนชื่อเรื่อง (the title)  ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร
นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
          1.1 ความสนใจของผู้วิจัย
ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
          1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
          1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
          1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ
ระเบียบวิธีของการวิจัย
สรุป

ชื่อเรื่อง (The Title) คือ เขียนชื่อเรื่องได้กะทัดรัดชัดเจนมีทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามปรากฏอยู่ด้วยอย่างชัดเจน  ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย  ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
            1.1 ความสนใจของผู้วิจัย
1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว


แหล่งที่มา
พิสณุ  ฟองศรี.(2553). การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์.
http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62  เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น