วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา


โครงร่างการวิจัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
            พิสณุ  ฟองศรี.(2553). กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุ  ความจำเป็น  และความสำคัญที่จะทำวิจัย  ผู้วิจัยต้องเขียนเกริ่นนำหรืออารัมภบท  โดยโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านหรือผู้เกี่ยวข้องคล้อยตาม  เห็นด้วยและยอมรับ  เช่น  หากเป็นเรื่องใหม่ก็ถือว่าเป็นการบุกเบิก  แต่หากศึกษาต่อจากผู้อื่นก็แสดงให้เห็นว่าจะพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้เพิ่มเติมหรือลุ่มลึกกว่าอย่างไร  เป็นต้น  เนื่องจากหัวข้อนี้เป็นส่วนแรกของรายงานวิจัย  หากสามารถเขียนให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่าน  ก็จะส่งผลต่อเนื้อหาในหัวข้อหรือบทต่อไป ๆ ได้อีกด้วย  จึงเขียนด้วยความตั้งใจเท่าที่จะทำได้
หลักการ
Ø ความยาวประมาณ   3 – 6 หน้า  ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวแปรหรือเนื้อหา  วิธีการหรือองค์ประกอบอื่น ๆ
Ø หากความยาวน้อยกว่า  3  หน้า  มักจะได้สาระไม่ครบ
Ø หากความยาวเกิน  6  หน้า  มักจะวกวน
Ø ใช้ความคิดตัวเองเป็นส่วนนำ  และอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี  หรือานวิจัยมาสนับสนุน
Ø เขียนจากความเรียงจากใหญ่ไปย่อย  หรือทั่วไปสู่เฉพาะในลักษณะ “กรวย”
Ø ไม่ควรเกริ่นนำเนื้อหาที่เป็นเรื่องไกลตัวเกินไป  หากมีความจำเป็นต้องเกริ่นนำก็ไม่ควรให้มีปริมาณมากเกินไป
Ø ปริมาณเนื้อหาทั่วไปและเฉพาะเรื่องหรือปัญหาที่จะทำ   ความสมดุลหรือใกล้เคียงกัน
Ø เขียนย่อหน้าให้ได้หน้าละ  3-5 ย่อหน้า ๆ ละ 1 ประเด็น
Ø ย่อหน้าสุดท้ายเป็นการสรุปว่าจะทำวิจัย  ควรแสดงเหตุผลให้ครอบคลุม  เพื่อให้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำวิจัย
http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62   กล่าวไว้ว่า การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                        
            1.เขียนขยายความที่สื่อความได้พอสมควรแต่ไม่มีข้อมูลสารสนเทศประกอบการพิจารณาที่ชัดเจน
          2.เขียนได้ละเอียดมีความเป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลสารสนเทศประกอบ ชัดเจนแต่ยังไม่มีจุดเน้นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจน
          3.เขียนได้ละเอียดชัดเจนตรงประเด็นโดยเขียนจากกว้างมาสู่ภาพเล็กเปรียบเสมือนรูปสามเหลี่ยมกลับหัวลง   โดยมีข้อมูลสารสนเทศประกอบ มีการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุเชิงเหตุผลชัดเจนในการทำวิจัย มีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีรองรับและมีจุดเน้นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างชัดเจน
            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale) อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
สรุป
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale) กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุ  ความจำเป็น  และความสำคัญที่จะทำวิจัย  ผู้วิจัยต้องเขียนเกริ่นนำหรืออารัมภบท  โดยโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านหรือผู้เกี่ยวข้องคล้อยตาม  เห็นด้วยและยอมรับ  เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ


แหล่งที่มา
พิสณุ  ฟองศรี.(2553). การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 19 / 12 / 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น