วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของกลุ้มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception หรือ Herbartianism)



1. ทฤษฎีของกลุ้มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception หรือ Herbartianism)

 ทิศนา แขมมณี.(2555:48) กล่าวไว้ว่า นักคิดคนสำคัญคือ จอร์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้ (Bigge, 1964:33-47)

1)มนุษย์เกิดมาไม้มีทั้งดีและเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral-passive)

2)จอร์น ล็อก เชื่อวาคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจาการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆในหลายๆทางจึงช่วยให้บุคคลเรียนรู้

3)วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส

4)ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จิตนาการ (imagination) คือการวิเคราะห์

5)แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual- thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมรับประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านทางกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (apperception)

6)แฮร์บาร์ตเชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ๆ

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97.(02/06/2555) กล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่าน ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


 สรุป  
  คนเราเกิดมาพร้อมกับจิตที่ว่างเปล่า (tabularasa)การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึก คือการตีความหรือการแปลความหมายจากการสัมผัส การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆใหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ และเมื่อมนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเองการเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม




เอกสารอ้างอิง

รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกรบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตประทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.

http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

http://surinx.blogspot.com/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม
 พ.ศ. 2555


http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486,http://surinx.blogspot.com/,http://surinx.blogspot.com/  กล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น