วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)


2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

    ทิศนา แขมมณี.(2555:59) กล่าวไว้ว่า กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ  หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ เริ่มขยายขอบเขตที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้จองมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

ทฤษฎีในกลุ่มนี้มีสำคัญๆ 5 ทฤษฎีคอ

2.2.1ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) นักจิตวิทยาสำคัญคือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์  (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) และ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin)

2.2.2ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซึ่งได้แยกตัวจากกลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์ ในระยะหลัง

2.2.3ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)

2.2.4 ทฤษฎีการพัฒนาทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาสำคัญๆคือ เพียร์เจ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner)

2.2.5ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubeel)

2.2.1ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)

เกสตัลท์ เป็นคำมาจากภาษาเยอรมันนีความหมายว่า “แบบแผน หรือ รูปร่าง” (form or pattern)  ซึ่งในความหมายของทฤษฎี หมายถึง  ส่วนรวมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย (The whole is more than the sun of the part) สรุปได้ดังนี้

1.การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์

2.บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

3.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

3.1การรับรู้ (perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสกับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตเป็นประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกไปตามที่สมอง/จิต ตีความหมาย

3.2การหยั่งเห็น (insight) เป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจใช่องทางปัญญาอย่างฉับพลันทันที เนื่องจากผลการพิจารณาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิด และสติปัญญาของยุคคลนั้น

4.กฎการจัดระเบียบการรับรู้ (perception) ของทฤษฎีเกสตัลท์ดังนี้

4.1กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งรับรู้เดียวกันอาจแตกต่างกันได้เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน

4.2กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดมีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน

4.3กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน

4.4กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น

4.5กฎแห่งความต่อเนื่อง  เป็นสิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกันหรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้ในพวกเดียวกันหรือในเรื่องเดียวกัน

4.6บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง

4.7การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือน ไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจากลักษณะการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดภาพลวงตา

5.การรับรู้แบบหยั่งเห็น (insight) โคห์เลอร์ (Kohler) ได้สังเกตการเรียนรู้ของลิงในการทดลอง ลิงพยายามหาวิธีที่จะเอากล้วยที่แขวนอยู่สูงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึง ในที่สุดลิงเกิดความคิดที่จะเอาไม้ไปสอยกล้วยที่แขวนเอามากินได้ สรุปได้ว่าลิงมีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น การหยั่งเห็นเป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือ ประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขึ้นได้มากเช่นกัน

2.2.2 ทฤษฎีสนาม (Field Theory)

เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) เป็นผู้เริ่มทฤษฎีนี้ คำว่า field มาจากแนวคิดเรื่อง “field of force

1)พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดอยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังงานเป็น ในขณะใดขณะหนึ่งมนุษย์คนทุกคนจะมี “โลก” หรือ “อวกาศชีวิต”ของตน อาจจะประกอบไปด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (psychological environment) ได้แก่ แรงขับ (drive) แรงจูงใจ (motivation) เป้าหมายหรือจุดหมายของปลายทาง (goal) รวมทั้งความสนใจ (interest)

2)การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ

2.2.3 ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)

ทอลแมน (Tolman) กล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง” ทฤษฎีของทอลแมนสรุปได้ดังนี้คือ

1.ในการเรียนรู้ต่างๆผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล (reward expectancy) หากรางวัลที่คาดว่าจะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายามแสวงหาราลวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป

2.ขณะที่ผูเรียนจะพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ (place learning) และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย

3.ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำๆ ในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของตน

4.การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม หรือจำเป็นจึงจะแสดงออก (latent learning)

1.2.4ทฤษฎีพัฒนาทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)

ทฤษฎีการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามการพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีการพัฒนาการตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากการพัฒนาขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามเพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีการพัฒนาการเร็วขึ้น

ทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์สรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall,1983:45-54)

1.พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับดงนี้

1.1)ขั้นรับรู้ด้วยประวาทสัมผัส (sensorimotor period) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาในช่วงอายุ0-2 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการกระทำ เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และยังไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น
1.2)ขั้นก่อนปฏิบัติความคิด (preoperational period) เป็นขั้นตอนการพัฒนาการในช่วงอายุ 2-7 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่มาสารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษาแบ่งเป็นขั้นย่อยๆคือ

              1.2.1)ขั้นตอนเกิดความคิดรวบยอด (pre-conceptual intellectual period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 2-4 ปี
              1.2.2) ขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง (thinking priod) เป็นพัฒนาการในช่วง

อายุ 4-7 ปี

1.3)ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (concrete operational period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 7-11 ปี เป็นขั้นที่การคิดของเด็กไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กสามารถสร้างภาพในใจ และสามารถคิดย้อนกลับได้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่างๆได้มากขึ้น

1.4)ขั้นการคดแบบนามธรรม (formal operational period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 11-15 ปี เด็กสามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

2.ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

3.กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

3.1)การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆเข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

3.2)การปรับและการจัดระบบ (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในบุคคล

ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

บรุนเนร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของบรุนเนอร์ มีดังนี้ (Burner,1963:1-54)

1.การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

3.การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

4.แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้ 3 ขั้นใหญ่ๆคือ

        5.1)ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (enactive stage) คือขั้นการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ

       5.2)ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (iconic stage) เป็นขั้นที่เด็กสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

      5.3)ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (symbolic stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม

7.การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วนตนเอง (discovery learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล (David Ausubel)  ออซูเบลเชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน (Ausubel,1963:77-97)

 http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 . http://surinx.blogspot.com/ กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  

-  ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย 

-  ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ 

-  ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง 

-  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  

 -  ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน 

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรม ที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการ กระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ

- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

- ทฤษฎีสนาม(Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุด หมายปลายทางที่ตนต้องการ

- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman) แนว ความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุด หมายปลายทาง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญา ของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง

- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน

สรุป

กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ตนเองและเป็นกระบวนการภายในสมอง การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนและยิ่งไปกว่านั้นการเรียนรู้เป็นกระบวนการคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ในกากระทำและแก้ปัญหาต่างๆได้



- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) การเรียนรู้เป็นกรบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ และเน้นกระบวนการคิดที่หลากหลาย บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

-  ทฤษฎีสนาม(Field Theory)   เชื่อว่าพฤติกรรมของคนเรามีพลังแลทิศทางในตัวมันเองและการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จกระทำให้ไปสู่จุดหมายที่ต้องกการได้

- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman) กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง

                -  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้จะเน้นความสำคัญของการเป็นไปตามรรมชาติแลพัฒนาการของเด็กมาทำการกระตุ้นเด็กให้มีการพัฒนาการเร็วขึ้น ส่วนบรุนเนอร์(Bruner) กล่าวว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง

                - ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล (David Ausubel)  ออซูเบลเชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน


เอกสารอ้างอิง

รศ.ดร.ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกรบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตประทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.

http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

http://surinx.blogspot.com/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม

พ.ศ. 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น