วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing)



1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing)
                ทิศนา แขมมณี (2555:80)  กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (Klausmeier, 1985:52-108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้
1.การรับข้อมูล (input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (software)
3.การส่งข้อมูลออก (output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
                คลาสไมเออร์ (Klausmeier,1985:105) ได้อธิบายกระบวนการการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก (recognition) และความใส่ใจ (attenttion) ของบุคคลที่จะรับสิ่งเร้า บุคคลเลือกรับสิ่งเร้าทีตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นได้รับนั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (short-term memory) ซึ่งจะดำรงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด คนส่วนมากจะสามารถจำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้เพียงครั้งละ 7± 2 อย่างเท่านั้น ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำๆกันหลายครั้ง ซึ่งสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้
                การบริหารควบคุมการประมวลข้อมูลของสมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมการคิดของตนให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ การรู้ในลักษณะนี้ใช้ศัพท์ทางวิชาการว่า    metacognition  หรือ “การรู้คิด” ซึ่งหมายถึงการตระหนักรู้ (awareness) เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตนเอง และใช้ความเข้าใจในการรู้ดังกล่าวในการจัดการควบคุมกระบวนการคิด การทำงานของตนด้วยกลวิธี (strategies) ต่างๆอันจะช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ (Osmam and Hannafin, 1992:83-89) องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการบริหารควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ รวมทั้งเทคนิคและกลวิธีต่างๆที่บุคคลใช้ในการบริหารควบคุมตนเอง
                เมตาคอคนิชัน หรือกระบวนการรู้คิดในกรอบทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Eggen and Kauchak, 1997:206) ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชันหรือการรู้คิด (metacognitive khowledge) จึงมักประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล (person) งาน (task) และกลวิธี (strategy) ซึ่งประกอบด้วยความรู้ย่อยๆที่สำคัญดังนี้ (Garofalo and Lester, 1985: 163-176)
1) ความรู้เกี่ยวกับบุคคล (person) ประกอบไปด้วยความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างภายในตังบุคคล (intra individual differences) ความแตกต่างระหว่างบุคคล (inter individual differences) และลักษณะสากลของกระวนการรู้คิด (universals of cognition)
และลักษณะของงาน
3)ความรู้เกี่ยวกับกลวิธี (strategy) ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกลวิธีการรู้คิดเฉพาะด้านและโดยรวม และประโยชน์ของกลวิธีนั้นที่มีต่องานแต่ละอย่าง           
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486,http://surinx.blogspot.com/ กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  
สรุป
การเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้
1.การรับข้อมูล (input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (software)
3.การส่งข้อมูลออก (output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
กระบวนการการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก (recognition) และความใส่ใจ (attenttion) ของบุคคลที่จะรับสิ่งเร้า บุคคลเลือกรับสิ่งเร้าทีตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นได้รับนั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (short-term memory) ซึ่งจะดำรงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด คนส่วนมากจะสามารถจำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้เพียงครั้งละ 7± 2 อย่างเท่านั้น ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำๆกันหลายครั้ง ซึ่งสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้
 
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกรบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตประทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
http://www.blogger.com/goog_1164065167. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
http://surinx.blogspot.com/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
พ.ศ. 2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น