วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)


การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule) 

          http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-19  กล่าวไว้ว่า  การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation) ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
- ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
- ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ                       
                        ก.การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
                        ข.การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
                        ค.การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป 
                  ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                   จ.การนิเทศงาน (Supervising) ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมงาน ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

            พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง


 เสนาะ ติเยาว์ .(2544). กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
                1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
                2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
                3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
                4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญ      กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
                5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

สรุป
           การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule) คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง แบ่งตามลักษณะได้ 5 ลักษณะคือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


แหล่งอ้างอิง
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545).ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-19  เข้าถึงเมื่อ 09/01/2556




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น