วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

สมมติฐานการวิจัย (Hypothasis)


สมมติฐานการวิจัย (Hypothasis)

http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62   กล่าวไว้ว่า สมมติฐานการวิจัย : ส่วนใหญ่ใช้กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์หรือเชิงทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ซึ่งเป็นคำตอบที่คาดคะเนล่วงหน้า โดยอาศัยเหตุผลที่ได้จากความรู้ จินตนาการและประสบการณ์เดิมของผู้วิจัย โดยจะทดสอบสมมติฐานได้ต้องมีการวัดตัวแปรทั้ง 2 เป็นตัวเลขและสามารถทดสอบได้มี 2 อย่าง 1) สมมติฐานทางการวิจัย เขียนเป็นข้อความถึงความคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จะมีทิศทางหรือไม่มีทิศทางก็ได้ เช่นคำว่า แตกต่างกันหรือ ไม่แตกต่างกันหรือ สูงกว่าหรือ ต่ำกว่าเป็นต้น 2) สมมติฐานทางสถิติ เขียนในรูปประโยคสัญลักษณ์เชิงสถิติ

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวไว้ว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
              

            http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html
   กล่าวไว้ว่า สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

สรุป
การตั้งสมมติฐาน (Hypothasis) เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) จะเขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า ดีกว่า หรือ สูงกว่าหรือ ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าในสมมติฐานนั้นๆ  และเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยซึ่งเป็นตัวแปรที่ต้องการศึกษาอีกด้วย


แหล่งอ้างอิง
http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html   เข้าถึงเมื่อ 21/12/2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 21/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น