วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

งบประมาณ (Budget)


งบประมาณ (Budget)
            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวไว้ว่า งบประมาณ (budget) คือ
การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
         1. เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        2. ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        3. ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        4. ค่าครุภัณฑ์
        5. ค่าประมวลผลข้อมูล
        6. ค่าพิมพ์รายงาน
        7. ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
โครงการแล้ว
        8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
            http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-20 กล่าวไว้ว่า การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน
                          http://goo.gl/VrWvK  กล่าวไว้ว่า  ความหมายของงบประมาณจะแตกต่างกันออกไปตามกาลเวลาและลักษณะการให้ความหมายของนักวิชาการแต่ละด้าน ซึ่งมองงบประมาณแต่ละด้านไม่เหมือนกัน เช่น นักเศรษฐศาสตร์ มองงบประมาณในลักษณะของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จํากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักบริหารจะมองงบประมาณในลักษณะของกระบวนการหรือการบริหารงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบรรลุเป้าหมายของแผนงานที่วางไว้ นักการเมืองจะมองงบประมาณในลักษณะของการมุ่งให้รัฐสภาใช้อำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
                ความหมายดั้งเดิม งบประมาณหรือ Budget ในความหมายภาษาอังกฤษแต่เดิม หมายถึง กระเป๋าหนังสือใบใหญ่ที่เสนนาบดีคลังใช้บรรจุเอกสารต่าง ๆ ที่แสดงถึงความต้องการของประเทศและทรัพยากรที่มีอยู่ในการแถลงต่อรัฐสภา ต่อมาความหมายของ Budget ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากตัวกระเป๋าเป็นเอกสารต่าง ๆ ที่บรรจุในกระเป๋านั้น
                สรุปความหมายของงบประมาณ หมายถึง แผนเบ็ดเสร็จ ซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงินแสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่ง รวมถึงการกะประมาณการบริหารกิจกรรม โครงการและค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุน การดำเนินงานให้บรรลุตามแผนนี้ย่อมประกอบด้วยการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ (1) การจัดเตรียม (2) การอนุมัติและ (3) การบริหาร


สรุป
            งบประมาณ (budget) คือ รายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดหาและใช้จ่ายเงินและทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหนควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ 
แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
         1. เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        2. ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        3. ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        4. ค่าครุภัณฑ์
        5. ค่าประมวลผลข้อมูล
        6. ค่าพิมพ์รายงาน
        7. ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
โครงการแล้ว
        8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

การดำเนินงานให้บรรลุตามแผนนี้ย่อมประกอบด้วยการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
       (1) การจัดเตรียม
       (2) การอนุมัติและ
       (3) การบริหาร

แหล่งอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 09 /01/2556
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-20 เข้าถึงเมื่อ 09/01/2556 http://goo.gl/VrWvK  เข้าถึงเมื่อ 29/01/2556

2 ความคิดเห็น: