วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ขอบเขตการวิจัย


ขอบเขตการวิจัย


จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย 
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวไว้ว่า ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:-AW9MtjHcYUJ:e-learning.vec.go.th/elearning/elearning/stat/text/reseachProposalWriting.doc+&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESiDnyhQyhrpYqTS0QqJ4ZOPXQsb_vvcg7yNw451UgT6BkMhSud8H9XgRZO4L5Wd2xMHyhaP8NMKD8I5_j4Ccm49Zboo98i2sm0ynjBnm4s3P7IGbG97mRKH8iNQIeXi9oKOzgeE&sig=AHIEtbR9AFzoYouAyviiRkrdtRNFUwvHsw กล่าวไว้ว่า  เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา


สรุป
ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด และเป็นสิ่งที่จะศึกษาค่อนข้างจะกว้างไม่เฉพาะเจาะจงและครอบคลุม  เป็นการเขียนระบุสิ่งที่สำคัญไว้อย่างชัดเจน ในบางอย่างเช่น ตัวแปรที่ศึกษา  ช่วงเวลาที่ศึกษา กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เนื้อหาสาระ และจึงควรจะให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย 




แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 20/12/2555
https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:-AW9MtjHcYUJ:e-learning.vec.go.th/elearning/elearning/stat/text/reseachProposalWriting.doc+&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESiDnyhQyhrpYqTS0QqJ4ZOPXQsb_vvcg7yNw451UgT6BkMhSud8H9XgRZO4L5Wd2xMHyhaP8NMKD8I5_j4Ccm49Zboo98i2sm0ynjBnm4s3P7IGbG97mRKH8iNQIeXi9oKOzgeE&sig=AHIEtbR9AFzoYouAyviiRkrdtRNFUwvHsw  เข้าถึงเมื่อ 20/12/2555

จำเรียง  กูรมะสุวรรณ. (2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิช.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น