วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)


ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)
            http://in.kkh.go.th/department/research/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=62   กล่าวไว้ว่า การเขียนข้อตกลงเบื้องต้น คือ
            1.มีการกำหนดเงื่อนไขที่ผู้วิจัยไม่ได้ตรวจสอบหรือไม่ได้ศึกษาบางประเด็น
            2.มีการกำหนดเงื่อนไขที่ผู้วิจัยไม่ได้ตรวจสอบหรือไม่ได้ศึกษาครบทุกประเด็นแต่การเขียนยังไม่ชัดเจนพอ
            3.มีการกำหนดเงื่อนไขที่ผู้วิจัยไม่ได้ตรวจสอบหรือไม่ได้ศึกษาไว้ ครบทุกประเด็นแล้วยังสามารถเขียนได้อย่างชัดเจน
           ไพศาล วรคำ(2550:189) กล่าวไว้ว่า เป็นการกำหนดเงื่อนไข ของการวิจัยที่จะต้องเป็นที่ยอมรับได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
           รวีวรรณ ชินะตระกูล(2550:56) กล่าวไว้ว่า ผู้วิจัยจำเป็นต้องกำหนดหัวข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยไว้ก่อนในการทำวิจัยของตน มีอะไรบ้างที่น่าเชื่อว่าเป็นไปได้ ทั้งที่ยังไม่ได้ทดลอง อาจเป็นสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติ หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ผู้วิจัยต้องมีเหตุผลที่เหมาะสมมารองรับข้อตกลงเบื้องต้น หรือมีพยานยืนยัน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านเห็นได้ว่าเป็นจริงตามนั้น เช่น การทำวิจัยทางพฤกษศาสตร์ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับโรคพืช ผู้วิจัยควรตั้งข้อตกลงไว้เบื้องต้นว่า เน้นการวิจัยโรคพืชในเขตร้อนเท่านั้น เพราะมีตัวอย่างมากและเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่าสะดวกกว่าการวิจัยพืชในเขตหนาว
สรุป
         ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) เป็นการกำหนดเงื่อนไข ของการวิจัยที่จะต้องเป็นที่ยอมรับได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือ ทั้งที่ยังไม่ได้ทดลอง อาจเป็นสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติ หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ผู้วิจัยต้องมีเหตุผลที่เหมาะสมมารองรับข้อตกลงเบื้องต้น หรือมีพยานยืนยัน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านเห็นได้ว่าเป็นจริงตามนั้น

แหล่งอ้างอิง
ไพศาล วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รวีวรรณ ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ภาพพิมพ์.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น